ร้านคิทเช่นเอาท์เลท

บทความ

เคล็ดลับการใช้ก๊าซหุงต้ม “ประหยัด และปลอดภัย”

27-12-2558 22:16:45น.

เคล็ดลับการใช้ก๊าซหุงต้ม “ประหยัด และปลอดภัย”

โดย Energy Saving วันที่ 12 มีนาคม 2555


ก๊าซหุงต้ม หรือ ก๊าซ LPG ถูกนำมาใช้ทำอาหารทั้งในครัวเรือนและร้านอาหารมากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่ น เนื่ องจากใช้งานง่าย สะดวกสบายแต่ขณะเดียวกันก๊าซหุงต้มมีคุณสมบัติไวไฟและเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟอย่างรวดเร็ว จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระเบิดหรือเพลิงไหม้ได้การรู้จักวิธีใช้ การเลือกใช้ถังก๊าซหุงต้ม รวมถึงการจัดวางถังก๊าซหุงต้มเพื่อความสะดวก และความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นจะต้องพึ่งเคล็ดลับจึงขอแนะเคล็ดลับการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างประหยัดและปลอดภัย ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆ มาฝากกันดังนี้

เคล็ดลับการประหยัดก๊าซ
1. ไม่ควรตั้งเตาหุงต้มในที่มีลมพัดแรง หรือไม่ใช้พัดลมเป่าเข้าเตาเพราะเปลวไฟจะไม่สัมผัสกับภาชนะ และเกิดการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2. การประกอบอาหาร ควรใช้ภาชนะที่มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณอาหาร เพราะถ้าภาชนะใหญ่เกินไป ก็จะทำให้สิ้นเปลืองก๊าซมากขึ้นในการทำให้ภาชนะร้อน
3. กาต้มน้ำที่ใช้ ควรทำความสะอาดไม่ให้มีตะกรันจับ เพราะจะกลายเป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้น้ำเดือดช้า และสิ้นเปลืองก๊าซมากขึ้น
4. ไม่เปิดเตาก๊าซทิ้งไว้ระหว่างเตรียมอาหาร
5. เมื่อใช้เตาก๊าซ สังเกตว่าเปลวไฟมีสีน้ำเงิน ซึ่งจะเป็นระดับที่ส่วนผสมของก๊าซพอดีกับอากาศ ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และให้ความร้อนสูงสุด
6. หมั่นทำความสะอาดหัวเตา เพราะหากอุดตันจะทำให้ก๊าซไม่สามารถออกมาได้
7. เลือกขนาดหัวเตาให้เหมาะกับภาชนะ เพราะหากใช้กระทะใบเล็กแต่ใช้หัวเตาขนาดใหญ่ จะทำให้สิ้นเปลืองก๊าซโดยไม่จำเป็น

การสังเกตถังก๊าซหุงต้มคุณภาพ
1. มีตราประทับเครื่ องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) รับรองคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ประทับที่หูถังอย่างถาวรและชัดเจน
2. ระบุชื่ อบริษัทผู้ผลิต ที่บริเวณหูถังอย่างถาวรและชัดเจน
3. ระบุเดือน / ปีที่ตรวจสอบครั้งสุดท้าย
4. ถังไม่บุบ ไม่บวม ไม่มีรอยขีดข่วนเป็นรอยลึก ไม่เป็นสนิมผุกร่อน
5. ระบุน้ำหนักถังเปล่า และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน
6. มีซีลผนึกที่วาล์วหัวถังในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อย

การจัดวางถังก๊าซหุงต้ม
1. ควรตั้งห่างจากเตาไฟอย่างน้อย 1.5 เมตร
2. ไม่ควรตั้งอุปกรณ์เครื่ องใช้ไฟฟ้าที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟไว้ใกล้ถังก๊าซ
3. ตั้งในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือภายนอกอาคารเพื่ อความปลอดภัย
4. ตั้งอยู่ในบริเวณที่เคลื่ อนย้ายได้สะดวก ไม่กีดขวางทางเข้า-ออก
5. ตั้งถังบนที่ราบและแข็ง
6. วางถังก๊าซในแนวตั้งเสมอ
7. ไม่ตั้งบริเวณที่เปียกชื้น
8. ไม่ตั้งถังในห้องใต้ดินแต่หากจำ เป็นควรติดตั้งเครื่องเตือนภัยด้วย
9. ข้อห้ามในการใช้ถังก๊าซหุงต้ม ห้ามกลิ้ง หรือกระแทกถัง
10. ห้ามนำไปเติมที่สถานีบริการ
11. ห้ามนำถังก๊าซหุงต้มไปใช้แทนถังก๊าซในรถยนต์

วิธีแก้ไขเมื่อเกิดก๊าซรั่ว
1. เมื่อได้กลิ่นก๊าซ ต้องทำการหาจุดที่รั่วโดยเร็ว โดยใช้น้ำสบู่ลูบตามจุดที่สงสัย เช่น ที่วาล์วของถังข้อต่อท่อยางที่หัวปรับแรงดันที่เตาก๊าซ และที่ตัวถังก๊าซ
2. เปิดประตูหน้าต่างทำการระบายก๊าซออก
3. ห้ามจุดไฟ สูบบุหรี่ หรือ เปิดสวิตซ์ไฟในบริเวณนั้นเด็ดขาด
4. ถ้าก๊าซรั่วที่ตัวถัง ให้พลิกจุดรั่วไว้ด้านบน นำถังที่รั่วไปไว้ในที่โล่ง เช่น กลางสนาม อย่าให้มีการจุดไฟและสูบบุหรี่ในบริเวณนั้น
5. ถ้ามีไฟลุกที่ถัง ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งฉีดดับ และแจ้งให้ร้านค้า หรือบริษัททราบโดยเร็ว

ข้อปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน
ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น และมีผู้ได้รับอันตราย ควรจัดให้มีการปฐมพยาบาลอย่างทันทีดังนี้ 
1. กรณีที่ก๊าซหุงต้มเหลวกระเด็นหรือกระฉอกเข้าตา จะต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งอย่างฉับพลันและใหดึ้งหนังตาล่างและหนังตาบนอยู่เสมอ ห้ามใชน้ำาร้อนล้างตาเป็น อันขาดแล้วรีบส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลทันที
2. กรณีหายใจเอาก๊าซหุงต้มเข้าไปในปริมาณที่สูง จะต้องเคลื่ อนผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าหากผู้ป่วยนั้นหยุดหายใจ จะต้องช่วยผายปอดหรือใช้เครื่ องช่วยหายใจ แล้วจึงให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น แล้วส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลโดยเร็วภายหลังสิ้นปี 2555 ภาครัฐจะมีการพิจารณานโยบายการปรับราคาก๊าซหุงต้ม ( L P G )ภาคครัวเรือน ดังนั้นหากทุกคนปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างต้นอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งนอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะมีการปรับราคาแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่านอีกด้วย

----------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.EnergySavingMedia.com